สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบลที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลยางฮอม ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านป่าบงน้ำล้อม
หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดง
หมูที่ 3 บ้านทุ่งศรีเกิด
หมู่ที่ 4 บ้านน้ำแพร่
หมู่ที่ 5 บ้านห้วยหลวง
หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหลวงใต้
หมู่ที่ 7 บ้านชมภู
หมู่ที่ 8 บ้านยางฮอม
หมู่ที่ 9 บ้านห้วยสัก
หมู่ที่ 10 บ้านใหม่พัฒนา
หมู่ที่ 11 บ้านงามเมือง
หมู่ที่ 12 บ้านยางฮอม
หมู่ที่ 13 บ้านพญาพิภักดิ์
หมู่ที่ 14 บ้านน้ำแพร่เหนือ
หมู่ที่ 15 บ้านห้วยสักเหนือ
หมู่ที่ 16 บ้านดงเจริญ
หมู่ที่ 17 บ้านยางฮอม
หมู่ที่ 18 บ้านชมภูใต้
หมู่ที่ 19 บ้านน้ำแพร่ใต้
หมู่ที่ 20 บ้านห้วยหลวงเหนือ
หมู่ที่ 21 บ้านป่าแดงใหม่
สำนักงานเทศบาลตำบลยางฮอม (ปัจจุบันเป็นเทศบาลขนาดกลาง ณ วันที่ 13 เมษายน 2563)
ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 7 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย- โทรศัพท์ 053 – 606223 - โทรสาร 053 – 606292
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของเทศบาลตำบลยางฮอมมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน และที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร
เขตการปกครอง
ตำบลยางฮอมได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 ลำดับที่ 377 โดยได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม113 ตอนที่ 9ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539 และทำให้การจัดตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลยางฮอมมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม 2539 ปัจจุบันตำบลยางฮอมมีเขตการปกครอง 21 หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลยางฮอมได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลยางฮอม ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 มีสมาชิกสภาเทศบาลตำบลยางฮอม จำนวน 12 คน คณะผู้บริหารเทศมนตรีตำบลยางออม มีจำนวน 5 คน เป็นเทศบาลขนาดกลาง มีชุมชนจำนวน 21 ชุมชน
อาณาเขตของเทศบาลตำบลยางฮอม
ทิศเหนือติดกับ ตำบลบุญเรือง และตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ
ทิศใต้ติดกับ ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล
ทิศตะวันออกติดกับ ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น และตำบลตับเต่า อำเภอเทิง
ทิศตะวันตกติดกับ ตำบลตาดควัน และตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย
เนื้อที่ทั้งหมด 134.8 ตารางกิโลเมตร
ด้านเหนือ
จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเชียงของ กับ อำเภอขุนตาลตามร่องน้ำลึกลำห้วยเหล็ก ไปทางทิศตะวันออกไปบรรจบแม่น้ำอิง เป็นหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด P C 359120 รวมระยะทางประมาณ 6,300 เมตรจากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเชียงของ กับ อำเภอขุนตาลตามร่องน้ำลึกแม่น้ำอิง ไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 3 บริเวณพิกัด P C 364120 รวมระยะทางประมาณ 700 เมตรจากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเชียงของ กับ อำเภอขุนตาล ตามร่องน้ำลึกแม่น้ำอิง ไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณลำห้วยแดนเมือง บ้านแดนเมือง ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ พิกัดที่ P C 378091 รวมระยะทางประมาณ 6,200 เมตรจากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเชียงของกับ อำเภอขุนตาล ไปทางทิศตะวันออก ตามร่องน้ำลึกลำห้วยแดนเมือง ตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 1020 ถึงหลักเขตที่ 5 บริเวณพิกัด P C 439066 รวมระยะทางประมาณ 7,300 เมตร
ด้านตะวันออก
จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเวียงแก่น กับ อำเภอขุนตาล ไปทางทิศใต้ ตามสันเขา ถึงหลักเขตที่ 6 บริเวณ สันดอยยาว พิกัดที่ P B 409979 รวมระยะทางประมาณ 9,800 เมตรจากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเทิง กับ อำเภอขุนตาล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตัดผ่านถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 4018 ไปตามสันเขา ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณลำห้วยไร่ พิกัดที่ P B 393945 รวมระยะทางประมาณ 4,400 เมตร
ด้านใต้
จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลป่าตาล กับ ตำบลยางฮอม ไปทางทิศตะวันตก ตามร่องน้ำลึกลำห้วยไร่ ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1020 ถึงหลักเขตที่ 8 บริเวณพิกัด P B 350976 รวมระยะทางประมาณ 6,000 เมตรจากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลป่าตาลกับตำบลยางฮอม ไปทางทิศตะวันตก ตามร่องน้ำลึกลำห้วยไร่ไปบรรจบแม่น้ำอิง เป็นหลักเขตที่ 9 บริเวณพิกัด P B 312993 รวมระยะทางประมาณ 5,100 เมตร
ด้านตะวันตก
จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอพญาเม็งราย กับ อำเภอขุนตาล ไปทางทิศเหนือ ตามร่องน้ำลึกแม่น้ำอิง ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบลำห้วยร่องดู่ พิกัดที่ P C 323028 รวมระยะทางประมาณ 6,700 เมตร จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอพญาเม็งราย กับ อำเภอขุนตาล ไปทางทิศเหนือ ตามร่องน้ำลึกลำห้วยร่องดู่ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1174 พิกัดที่ P C 323036 รวมระยะทางประมาณ 800 เมตรจากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอพญาเม็งราย กับ อำเภอขุนตาล ไปทางทิศเหนือ ผ่านทุ่งนา ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางหลวงชนบทหมายเลข 4021 พิกัดที่ P C 321086 รวมระยะทางประมาณ 5,000 เมตร จากหลักเขตที่ 12 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอพญาเม็งราย กับอำเภอขุนตาล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามเส้นกึ่งกลางทางหลวงชนบทหมายเลข 4021 ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1174 พิกัดที่ P C 312088 รวมระยะทางประมาณ 1,000 เมตร จากหลักเขตที่ 13 เป็นเส้นเลียบตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอพญาเม็งรายกับอำเภอขุนตาล ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามเส้นกึ่งกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1174 จนบรรจบหลักเขตที่ 1 รวมระยะทางประมาณ 1,500 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแร้ง แต่บางครั้งอาจเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า“พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้งช่วง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1-2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด ประมาณ 10 องศา และพื้นที่บนยอดภูเขา ประมาณ 8 องศา